..ยินดีต้อนรับเข้าสู่หน้าเว็บบล็อกของ ...

.. นาย ธีรพันธ์ เกิดมณี รหัสนักศึกษา 544144056 สาขาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา คบ.2 หมู่ที่ 2 ..

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ หมายถึงเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบลักษณะเด่นของ คอมพิวเตอร์คือมีสักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง


ส่วนประกอปสำคัญของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึงส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5ส่วนคือ
ส่วนที่1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit )
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่้ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิมเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระั (Keyboard)
- แผ่นซีดี (CD-Rom)
- ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น

ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผลกลาง

               (Central Processing Unit)
               ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่ 3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
              ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไป ประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
              ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่ 5 อุปกรณืต่อพ่วงอื่นๆ(Peripheral Equipment)
               เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์

หมาย ถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่้วยงานที่เกี่ยวข้อง



องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟแวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล (Data)
4. บุคลากร (Peopleware)

อาร์ดแวร์ (Hardware)

หมายถึง ตัวเครื่องและอุึปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1. ส่วนประมวลผล (Processor)
2. ส่วนความจำ (Memory)
3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input - Output Devices)
4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

ส่วนที่ 1 CPU

CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
     มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมาลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็น สารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาเป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาทีมีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ (Hertz) เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬืกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)

ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ (Memory)

จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)

1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)

เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
ชุด ความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดย CPU ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และจนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่้งขึ้น

หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)

หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มี ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1. ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่

1.หน่วยความจำหลัก

     แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ "แรม" (RAM) และหน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ "แรม"
     (RAM = Random Access Memory)
เป็น หน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory) 
1.2 หน่วยความจำแบบ "รอม" (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูล ลงไปเก็บไว้ได้โดยง่ายส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)

หน่วยความจำสำรอง(Secondary Memory Unit)

     หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
     หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลัก คือ
     1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
     2. ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมไว้อย่างถาวร
     3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง

หน่วย ความจำรองจะช่วยแก้ไขปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะ ข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม ปากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึุกข้อมูลภาย นอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ

ส่วนแสดงผลข้อมูล

ส่วน แสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คน เราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องพิมพ์ภาพ (Ploter) และ ลำโพง (Speaker) เป็นต้น

บุคลากรทางคอมพิวเตอร์

(PEOPLEWARE)
     บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคถมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไป อย่างราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์

ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์

(PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และิิออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฎิบัติงานเครื่องและบริการ

- นักวิเคราะห์ระบบงาน

ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
- โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
- วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่้อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
- พนักงานปฎิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์

อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆ ได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้่ึคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ



ตัวแปลภาษา
การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาศัยซอฟแวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครือง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ่งเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมชุดคำสังได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic Pascal C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอบพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอีกมากได้แก้ Forrtran Cobol และภาษาร์อาพีจี

2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์

Application Software 
ซอฟแวร์ที่ใช้งานรวมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉราะด้าน เช้น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต้ เป็นต้น

ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์

แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ 


1 ซอฟแวร์ที่พัฒนาขึนใช้เองโดยเฉราะ

Propietary Sofware 
2 ซอฟแวร์ที่หาซื่อได้ทั่วไป Pacfaged Software
มีทั้งโปรแกรมเฉราะ Customized package และโปรแกรมมาตรฐาน Standard package 

ประเภทของซอฟแวร์ปรัยุกต์


แบ่งตามกลุ่มใช้งาน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดั่งนี้ 

1. กลุ่มการใช้งานทางธุรกิจ
Business
2. กลุ่มการใช้งานด้านกราฟิกและมัลติมีเดียว Graphic and Multimedia
3. กลุ่มการใช้งานเว็บ Wed and communicatiosn

กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business 


ซอฟแวแวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึง เช่น การจักพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนอและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอยางเช่น

โปรปกรมประมวลคำ อาทิ MICROSOFT WORRD SUN StarOffce Writer 
โปรแกรม ตารางคำนวน อาทิ MICROSOFT Excel SUN StarOffce Cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft PowerOoint Sun StarOffice Impress

กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย


ซอฟแวกลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ่งเพื่อช่วยการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ่น เช่นใช้ในการ ตกแต้ง วาดรูป ปรับเสียง ตักต่อ ภาพเคลื่อนไหว และการสร้างและการออกแบบเว็ปไซต์ ตัวอยางเช่น

โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsft Professional 
โปรแกรมตกแต่แต่งภาพ อาทิ coreldraw adode photshop 
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ adoe premirer pinnacle studio dv

โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ adobe authorwarer toolbook instructor adobe directtor

โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ adobe flash adobe dreamweaver

กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร


เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กล่มนี้ได้ภูกพัฒนาขึ่งเพื่อใช้งานเฉราะเพิ่มมากขึ่น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็กอีเมลการท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอยางโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก้

โปรแกรมจดการอีเมล อาทิ Microroft Outlook Mozzila hunderdird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microroft internet explcrer moxxila fireox 
โปรแกรม ประชุมทางไกล video conference อาทิ Microroft netmeeting

โปรแกรมส่งข้อความด่วน intant messaging อาทิ sms messenger window messenger icq 

โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ pirch mirch

ความจำของการใช้ซอฟแวร์


การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งานทางด้านการจัดข้อมูล

สิ้นสุดการสนทนา


ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์


เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนูษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการบอกสิ่งที่มนูษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันเเล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดตอวึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้แปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อกลางสำหลับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางว่า ภาษาคอมพิวเตอร์


ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย


ภาษาเครื่อง (Machine Languages)

เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลขและ 1 ได้ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี่เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐาน สองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นเป็นตัวอักษร

ภาษาแอสเซมบาลี(assembly languages)

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่สองถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบาลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบาลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์ assembler เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบาลีให้เป็นภาษาเครื่อง

ภาษาระดับสูง HIGH- LEVEL LANGUAGES

เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้นเนื่องจากภาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาเครื่องนั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
คอมไพเลอร์ compiler และอินเทอร์พรีเตอร์ Interpreter